วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2559

ความหมายความสำคัญของภาษาและวัฒนธรรม

ภาษาในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง กริยาอาการที่แสดงออกมาแล้วสามารถทำความเข้าใจกันได้ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ ส่วนภาษาในความหมายอย่างแคบนั้น หมายถึง เสียงพูดที่มนุษย์ใช้สื่อสารกันเท่านั้นพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2542 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า ภาษา ไว้ว่า "ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษาราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม; เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยา; อาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ"วิชาที่ว่าด้วยการศึกษาภาษาในแง่ต่าง ๆ เรียกว่า "ภาษาศาสตร์" เริ่มบุกเบิกโดยแฟร์ดินอง เดอ โซซูร์ (Ferdinand de Saussure) บุคคลที่พูดภาษาใดก็ตาม ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเชิงภาษาศาสตร์ของภาษานั้น ๆ

ความสำคัญของภาษา
1. ภาษาในฐานะเป็นเครื่องมือสื่อสาร

การสื่อสารจะประสบผลสำเร็จได้จะต้องมีภาษาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ เนื้อหาของสาร
จะไม่สามารถถ่ายทอดได้ถ้าไม่มีภาษา จึงอาจกล่าวได้ว่าภาษาคือตัวนำสาร ภาษาที่ผู้ส่งสาร
และผู้รับสารใช้จะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับทักษะในการสื่อสาร ถ้าผู้ส่งสารเลือกใช้ภาษาในการเสนอ
สารที่เหมาะสมกับผู้รับสาร ในด้านความรู้และทักษะการใช้ภาษา จะทำให้เกิดการรับรู้และ
เข้าใจตรงกัน ภาษาในฐานะเป็นเครื่องมือสื่อสาร จะมี 2 ลักษณะ คือ
1.1 ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ

1) วัจนภาษา (verbal language) คือ ภาษาถ้อยคำ ได้แก่ คำพูดหรือตัวอักษร

ที่กำหนดใช้ร่วมกันในสังคม ซึ่งหมายรวมทั้งเสียงและลายลักษณ์อักษร ภาษาถ้อยคำเป็น
ภาษาที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างมีระบบ มีหลักเกณฑ์ทางภาษาหรือไวยากรณ์ซึ่งคนในสังคม
ต้องเรียนรู้และใช้ภาษาในการฟัง พูด อ่าน เขียนและคิด การใช้วัจนภาษาในการสื่อสาร
ต้องคำนึงถึงความชัดเจนถูกต้องตามหลักภาษาและความเหมาะสมกับลักษณะการสื่อสาร,
ลักษณะงาน, สื่อและผู้รับสาร เป้าหมาย
2) อวัจนภาษา (non - verbal language) คือ ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำ
เป็นภาษาซึ่งแฝงอยู่ในถ้อยคำ กิริยาอาการต่าง ๆ ตลอดจนสิ่งอื่นๆ  ที่เกี่ยวข้องกับการ
แปลความหมาย เช่น น้ำเสียง การตรงต่อเวลา การยิ้มแย้ม การสบตา การเลือกใช้
เสื้อผ้า ช่องว่างของสถานที่ กาลเวลา การสัมผัส ลักษณะตัวอักษร เครื่องหมาย
วรรคตอน เป็นต้น  สิ่งเหล่านี้แม้จะไม่ใช้ถ้อยคำ แต่ก็สามารถสื่อความหมายให้เข้าใจได้
ในการ  สื่อสารมักมีอวัจนภาษาเข้าไปแทรกอยู่เสมอ อาจตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้
3) ความสัมพันธ์ระหว่างวัจนภาษาและอวัจนภาษา
              อวัจนภาษาไม่สามารถแยกเด็ดขาดจากวัจนภาษา ผู้ส่งสารมักใช้วัจนภาษาและ

อวัจนภาษาประกอบ เช่น บอกว่า "มา" พร้อมทั้งกวักมือเรียก เป็นต้น  วัจนภาษาและ
อวัจภาษามีความสัมพันธ์กันดังนี้

     1. ใช้อวัจนภาษาแทนคำพูด หมายถึง การใช้อวัจนภาษาเพียงอย่างเดียว
ให้ความหมายเหมือนถ้อยคำภาษาได้ เช่น กวักมือ สั่นศีรษะ เป็นต้น

     2. ใช้อวัจนภาษาขยายความ เพื่อให้รับรู้สารเข้าใจยิ่งขึ้น เช่นพูดว่า "อยู่ในห้อง"
พร้อมทั้งชี้มือไปที่ห้อง ๆ หนึ่ง แสดงว่าไม่ได้อยู่ห้องอื่น
     3. ใช้อวัจนภาษาย้ำความให้หนักแน่น หมายถึง การใช้อวัจนภาษาประกอบ
 วัจนภาษาในความหมายเดียวกัน เพื่อย้ำความให้หนักแน่นชัดเจน ยิ่งขึ้น   เช่น พูดว่า
 เสื้อตัวนี้ใช่ไหม พร้อมทั้งหยิบเสื้อขึ้นประกอบ
      4. ใช้อวัจภาษาเน้นความ หมายถึง การใช้อวัจภาษาย้ำบางประเด็นของวัจนภาษา
 ทำให้ความหมายเด่นชัดขึ้น เช่น พาดหัวหนังสือพิมพ์ ใช้ตัวอักษรตัวโตพิเศษ  แสดงว่า
เป็นเรื่องสำคัญมาก
      5. ใช้อวัจนภาษาขัดแย้งกัน หมายถึง การใช้ภาษาที่ให้ความหมายตรงข้ามกับ
 วัจนภาษา ผู้รับสารมักจะเชื่อถือสารจากอวัจนภาษาว่าตรงกับความรู้สึกมากกว่า  เช่น
พูดว่า "โกรธไหมจ๊ะที่ผมมาช้า" ผู้รับสารตอบว่า "ไม่โกรธหรอกค่ะ" พร้อมกับมีสีหน้า
บึ้งตึง ผู้ส่งสารก็รู้ได้ทันทีว่ายังโกรธอยู่
      6. ใช้อวัจภาษาควบคุมปฏิสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสาร หมายถึง การใช้กิริยา
ท่าทาง สายตา น้ำเสียงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสาร เช่น การยิ้มแย้มแจ่มใส
การแสดงความดีใจที่ได้พบกัน
      อวัจนภาษามีผลในด้านการสร้างความรู้สึกได้มากกว่าวัจนภาษา  การใช้
อวัจนภาษาจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ผู้ส่งสารและผู้รับสารจะต้องระมัดระวัง
ถ้ารู้จักเลือกใช้อวัจภาษาเพื่อเสริมหรือเน้นหรือแทนวัจนภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผลมากขึ้นู่



ระดับภาษา



การใช้ภาษาสื่อสารต้องให้เหมาะสมกับโอกาส สถานการณ์ และสัมพันธภาพ
ระหว่างบุคคล ระดับภาษาเป็นตัวกำหนดความเหมาะสม ช่วยให้เกิดผลดีในการสื่อสาร
ระดับภาษาแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ

1) ระดับพิธีการ ภาษาระดับนี้ใช้สื่อสารกันในที่ประชุมที่จัดขึ้นอย่างเป็นพิธีการ
เช่น การเปิดประชุมรัฐสภา การกล่าวรายงานในพิธีมอบปริญญาบัตรผู้ส่งสารมุ่งแสดงออก
ให้เห็นถึงความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ ความทรงภูมิปัญญา ฯลฯไม่มุ่งประโยชน์ที่จะให้ผู้รับสาร
ได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น หากจะมีการกล่าวตอบก็ต้องกระทำ
อย่างเป็นพิธีการในฐานะผุ้แทนกลุ่มเท่านั้น

2) ระดับทางการ ภาษาระดับนี้มิได้มุ่งหมายที่จะให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม ในการสื่อสาร
โดยตรงเช่นกัน ผู้ส่งสารมุ่งเสนอข่าวสารแนวคิดและทรรศนะ ไปสู่กลุ่มรับสารขนาดใหญ่
เช่น  การแถลงข่าวอย่างเป็นทางการต่อสื่อมวลชน การให้โอวาทต่อคณะบุคคล การเขียน
บทบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์ การเขียนบทความทางวิชาการ

3) ระดับกึ่งทางการ ภาษาระดับนี้มักใช้ในการปรึกษาหารือกิจธุระระหว่างบุคคล
หรือกลุ่มบุคคล มีการเปิดโอกาสให้ผู้รับสารมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นร่วมกับผู้ส่งสาร
ภาษาระดับนี้จะใช้ในการประชุมกลุ่ม การปรึกษางาน การวางแผนร่วมกัน การเขียนบทความ
แสดงทรรศนะในหนังสือพิมพ์ การเสนอรายการสารคดีกึ่งวิชาการ

4) ระดับสนทนา อาจเรียกว่า ระดับลำลอง ภาษาระดับนี้มักใช้ในการสื่อสาร
กับเพื่อนสนิท อาจมีถ้อยคำที่เคยใช้กันเฉพาะกลุ่มหรือเข้าใจความหมายตรงกันในกลุ่มเท่านั้น

5) ระดับกันเอง ภาษาระดับนี้จะใช้ในวงจำกัด ใช้ระหว่างบุคคลที่สนิทสนมคุ้นเคย
กันมาก ๆ สถานที่ใช้มักเป็นที่ส่วนตัว เช่น ที่บ้านในห้องที่เป็นสัดส่วนของตน  โดยเฉพาะ
ถ้อยคำที่ใช้อาจมีคำแสลง คำที่ใช้เฉพาะกลุ่ม ภาษาระดับนี้ไม่นิยมบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร

อ้างอิง:http://human.tru.ac.th/elearning/thai_for_com/lesson1/content21.html


ทักษะการสอนและเทคนิคการสอน
 ทักษะ คือ การพูดของผู้สอนว่ามีเนื้อหาที่น่าสนใจและวิธีการพูดโน้มน้าวผู้เรียนต่างๆ และทักษะการเคลื่อนไหว ผู้สอนควรจะเคลื่อนไหว ผู้สอนอย่างไรให้เหมาะสมกริยาท่าทางต่างๆที่ผู้สอนเคลื่อนไหวในชั้นเรียนและตลอดเวลาการสอนและหมายถึงความคล่องแคล้ว ความชำนาญในการสอน
เทคนิค คือ กลวิธีและรูปเล่มที่ใช้เสริมกระบวนการสอน ขั้นตอนหรือกระบวนการต่างๆ
การสอน คือ การถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์


 เทคนิคการใช้วาจากิริยา ท่าทางประกอบการสอน

1.การเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนอิริยาบท
 เริ่มแรกที่เข้ามาในห้องเรียนครูควรเดินด้วยท่าทางที่เหมาะสมสง่างามและดูเป็นธรรมชาติ
2.การใช้มือแลแขน
ใช้มือประกอบท่าทางในการพุด ซึ่งจะเป็นสิ่งดึงดุดใจของนักเรียน เพราะนักเรียนสนใจดูสิ่งเคลื่อนไหวมากกว่าสิ่งที่นิ่ง
3.การแสดงออกทางสีหน้า สายตา
การแสดงออกทางหน้าตา สายตา เป็นส่วนหนึ่งที่ใช้สื่อความหมายกับผู้เรียน ผู้เรียนจะเข้าใจถึงความรู้สึก หรือเข้าใจในอารมณ์การสอน ในการสอนบทเรียนที่มีความตื่นเต้น สีหน้าของครูต้องคล้อยตามสัมพันธ์กับความรู้สึกดังกล่าวด้วย
4.การทรงตัวและการวางท่าทาง
ควรวางท่าให้เหมาะสม ไม่ดูตรึงเครียด หรือเกรงเกินไป  ควรวางท่าทางและทรงตัวขณะสอนให้ดูเป็นธรรมชาติแต่ก็ไม่ดูปล่อยตามสบายจนเกินไป
5.การใช้น้ำเสียง
ควรใช้น้ำเสียงที่ชัดเจนเหมาะสม ไม่ช้า ไม่เร็วจนเกินไป มีการออกเสียงการใช้ถ้อยคำถูกต้อง  ไม่แสดงอารมณ์ที่ไม่สมควรออกทางน้ำเสียงเพราะโดยปกติแล้วน้ำเสียงของครูสามารถบอกอารมณ์ได้และความรู้สึกของครูได้อย่างดี ถ้าครูเสียงดีนักเรียนก้จะมีความรู้สึกที่ดีต่อครู
6.การแต่งกาย
ครูควรแต่งกายให้ถุกต้องเหมาะสมเพราะถ้าครูแต่งกายสวยเดนจนเกินไปทำให้นกเรียนจะให้ความสนใจกับครูมากกว่าบทเรียน ผู้สอนควรแต่งกายให้เรียบร้อย

คุณลักษณะทั่วไป
๑ . มั่นใจในตนเอง เตรียมพร้อม ซ้อมดี มีสื่อและวิธีการ ที่เหมาะสม
๒ . เป็นคนช่างสังเกต คอยสังเกตพฤติกรรมทางกาย วาจา ตลอดจนกระบวนการกลุ่มของผู้เข้ารับการอบรม
๓ . มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
๔ . แก้ปัญหาเฉพาะหน้าเก่ง
๕ . มีการวางแผนที่ดี ทั้งเนื้อหาและลำดับขั้นตอนการนำเสนอรวมทั้งสื่อและเครื่องมือการสื่อสาร
๖ . มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีและประสานงานเก่ง
๗ . มีบุคลิกภาพที่ดี
๘ . มีความเป็นกัลยาณมิตร ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นกันเอง คอยช่วยเหลือด้วยน้ำใจ มีความเมตตา ยอมรับในความแตกต่างระหว่างบุคคลและมีความเห็นใจของผู้เข้ารับากรอบรม
๙ . เป็นนักประชาธิปไตย มีความยืดหยุ่น รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่สรุปตัดบทง่าย ๆ เมื่อมีผู้เสนอความคิดเห็นที่แตกต่างออกไป
๑๐ . มีความจิรงใจในการถ่ายทอดความรู้
๑๑ . ปฏิบัติตนต่อผู้เข้ารับการอบรมอย่างเสมอภาค ทัดเทียม วางตนเหมาะสมกับทุกคน
๑๒ . มีแบบฉบับลีลาที่เป็นของตนเองยอมรับจุดเด่นและจุดด้อยของตนและ มีความภูมิใจและเข้าใจ ในบุคลิกภาพของตนเอง และใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อ

อ้างอิง:http://sontad.blogspot.com/2015/08/blog-post_34.html?m=1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น