วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2559

บทที่5ภาษาประจำอาเซียน

สาธารณรัฐสิงคโปร์
Republic of Singapore (อังกฤษ)
新加坡共和国 (จีน)
Republik Singapura (มาเลย์)
சிங்கப்பூர் குடியரசு 
 ธงชาติประเทศสิงคโปร์


 
ตราแผ่นดิน


คำขวัญ: Majulah Singapura (มาเลย์)
"สิงคโปร์จงรุดหน้า"
เพลงชาติ: Majulah Singapura
"สิงคโปร์จงรุดหน้า"

เมืองหลวง
สิงคโปร์
(ดาวน์ทาวน์คอร์, เซนทรัล) [a]
1°17′N 103°50′E / 1.283°N 103.833°E
ภาษาราชการ
ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษามาเลย์ และภาษาทมิฬ
เดมะนิม
ชาวสิงคโปร์
การปกครอง
สาธารณรัฐ
 - 
ประธานาธิบดี
โทนี ตัน เค็ง ยัม
 - 
นายกรัฐมนตรี
ลี เซียนลุง
 - 
ประธานรัฐสภา
Halimah Yacob
 - 
ประธานศาลสูงสุด
Sundaresh Menon
นิติบัญญัติ
รัฐสภา
การก่อตั้ง
 - 
การก่อตั้ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2362[1] 
 - 
การปกครองตนเอง
3 มิถุนายน พ.ศ. 2502[2] 
 - 
เอกราชจากสหราชอาณาจักร
31 สิงหาคม พ.ศ. 2506[3] 
 - 
รวมกับมาเลเซีย
16 กันยายน พ.ศ. 2506[3] 
 - 
ถูกขับจากมาเลเซีย
9 สิงหาคม พ.ศ. 2508[3] 
พื้นที่
 - 
รวม
718.3 ตร.กม. (190)
277 ตร.ไมล์ 
 - 
แหล่งน้ำ (%)
1.4
ประชากร
 - 
2557 (สำมะโน)
5,469,700[4] 
 - 
ความหนาแน่น
7,615[5] คน/ตร.กม. (3)
19,725 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ)
2556 (ประมาณ)
 - 
รวม
Int$425,251 ล้าน[6] 
 - 
ต่อหัว
Int$78,762[6] 
จีดีพี (ราคาตลาด)
255
↑ ประเทศสิงคโปร์เป็นนครรัฐ
ประเทศสิงคโปร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่าสาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นนครรัฐสมัยใหม่และประเทศเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกปลายทิศใต้ของคาบสมุทรมลายูและอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 137 กิโลเมตร ดินแดนของประเทศประกอบด้วยเกาะหลักรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมักเรียกว่าเกาะสิงคโปร์ในภาษาอังกฤษ และเกาะอูจง (Pulau Ujong) ในภาษามลายู และเกาะที่เล็กกว่ามากอีกกว่า 60 เกาะ ประเทศสิงคโปร์แยกจากคาบสมุทรมลายูโดยช่องแคบยะฮอร์ทางทิศเหนือ และจากหมู่เกาะรีเยาของประเทศอินโดนีเซียโดยช่องแคบสิงคโปร์ทางทิศใต้ ประเทศมีลักษณะแบบเมืองอย่างสูง และคงเหลือพืชพรรณดั้งเดิมเล็กน้อย ดินแดนของประเทศขยายอย่างต่อเนื่องโดยการแปรสภาพที่ดิน
หมู่เกาะมีการตั้งถิ่นฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และต่อมาเป็นของจักรวรรดิท้องถิ่นต่าง ๆ สิงคโปร์สมัยใหม่ก่อตั้งใน ค.ศ. 1819 โดยเซอร์สแตมฟอร์ด รัฟเฟิลส์ (Stamford Raffles) เป็นสถานีการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกโดยการอนุญาตจากรัฐสุลต่านยะฮอร์ อังกฤษได้อธิปไตยเหนือเกาะใน ค.ศ. 1824 และสิงคโปร์กลายเป็นหนึ่งในนิคมช่องแคบอังกฤษใน ค.ศ. 1826 หลังถูกญี่ปุ่นยึดครองระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง สิงคโปร์ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1963 และเข้าร่วมกับอดีตดินแดนของอังกฤษอื่นเพื่อตั้งประเทศมาเลเซีย แต่ถูกขับอีกสองปีต่อมาผ่านพระราชบัญญัติโดยเอกฉันท์ นับแต่นั้น ประเทศสิงคโปร์พัฒนาอย่างรวดเร็ว จนได้รับการรับรองว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย
ประเทศสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางพาณิชย์สำคัญของโลกแห่งหนึ่ง โดยเป็นศูนย์กลางการเงินใหญ่สุดเป็นอันดับสี่และเป็นหนึ่งในห้าท่าที่วุ่นวายที่สุด เศรษฐกิจซึ่งเป็นโลกาภิวัฒน์และมีความหลากหลายอาศัยการค้าเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิต ซึ่งคิดเป็นประมาณ 30% ของจีดีพีของสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2556ในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ ประเทศสิงคโปร์มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับสามของโลกแต่มีความเหลื่มล้ำของรายได้รุนแรงที่สุดในหมู่ประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศสิงคโปร์ได้รับการจัดอันดับสูงในแง่การศึกษา สาธารณสุขและความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เมื่อปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 มีประชากรอาศัยอยู่ในประเทศสิงคโปร์เกือบ 5.5 ล้านคน ซึ่งกว่า 2 ล้านคนมีสัญชาติต่างชาติ แม้สิงคโปร์จะมีความหลากหลาย แต่เชื้อชาติเอเชียมีมากที่สุด 75% ของประชากรเป็นชาวจีน โดยมีชนกลุ่มน้อยที่สำคัญ เช่น ชาวมาเลย์ ชาวอินเดียและชาวยูเรเซีย มีภาษาราชการสี่ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู ภาษาจีนกลางและภาษาทมิฬ และประเทศสนับสนุนพหุวัฒนธรรมนิยมผ่านนโยบายทางการต่าง ๆ
ประเทศสิงคโปร์เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา รัฐเดี่ยว และใช้ระบบหลายพรรคการเมือง โดยมีการปกครองสภาเดี่ยวระบบเวสต์มินสเตอร์ พรรคกิจประชาชนชนะการเลือกตั้งทุกครั้งนับแต่เริ่มการปกครองตนเองในปีพ.ศ. 2502 ภาวะครอบงำของพรรคกิจประชาชน ประกอบกับระดับเสรีภาพสื่อต่ำและการปราบปรามเสรีภาพพลเมืองและสิทธิการเมืองนำให้ประเทศสิงคโปร์ถูกจัดเป็นประชาธิปไตยไม่สมบูรณ์ (flawed democracy) ประเทศสิงคโปร์เป็นหนึ่งในห้าสมาชิกผู้ก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ยังเป็นที่ตั้งของสำนักเลขาธิการความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) และสมาชิกการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและเครือจักรภพแห่งประชาชาติ การพัฒนาอย่างรวดเร็วของประเทศสิงคโปร์นำให้มันมีอิทธิพลอย่างสำคัญในกิจการโลก นำให้นักวิเคราะห์บางส่วนระบุว่าเป็นอำนาจปานกลาง (middle power)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น