วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2559

บทที่2ภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่ใช้ในวิชาชีพครู

1. การแนะนำตนเองต่อนักเรียน (Giving Self –introduction to Students)
       การแนะนำตัวเองเป็นภาษาไทย   โดยทั่วไปการแนะนำตนมีวิธีการดังนี้
              1. กล่าวทักทายนักเรียน
              2. ชื่อและนามสกุล 
              3. ถิ่นกำเนิด (ยกเว้นได้)
              4. การศึกษา 
              5. ความรู้ความสามารถพิเศษ 
              6. ตำแหน่งหน้าที่การงาน ความรับผิดชอบ 
              7. หลักหรือแผนการในการดำเนินชีวิต


        การแนะนำตัวเองเป็นภาษาอังกฤษ
Make sure your introduction is appropriate for your grade level
Reassure the class of your ability to answer questions, help with assignments and solve problems
Briefly discuss a hobby, favorite food or sport team to show humility
Quickly field any questions and re-direct back to the regular classroom procedure for the day

2. การเริ่มบทสนทนากับผู้เรียน (Breaking the Ice with Students)

               การเริ่มบทสนทนากับผู้เรียนเป็นภาษาไทย
      ให้สนใจความคิดของนักเรียน 
      จงสนับสนุนนักเรียนให้แสดงความคิดของเขาเอง 
      คำถามที่เหมาะสมอาจเป็นคำถามที่ใช้หยั่งทัศนะ เนื่องจาก       คำถามแบบนี้มักกระตุ้นให้ตอบมากกว่าแค่บอกว่าใช่หรือไม่ใช่ 
      อย่ารู้สึกข้องขัดใจ จงอดทน 
      อย่าพยายามคาดคั้นให้เขาสนทนาด้วยให้ถามคำถามใหม่ ซึ่งนักเรียนบางคนเขาจะเต็มใจแสดงความคิดเห็นของเขาอย่างสะดวกใจมากขึ้น 

  การเริ่มบทสนทนากับผู้เรียนเป็นภาษาอังกฤษ

                      Topics          
                          General Topic

                          School/Work Topics

                          Relationship Questions

                          Sports Conversation Starters

                          Vacation Questions

                          Food/Drink Topics

                          Entertainment Topics

                          Personal Questions

บทสนทนา (Conversation)
  
    Greetings  : Go to the teacher’s website for your listening     
  A :  Hi, how are you doing?
  B :  I'm fine. How about yourself?
  A :  I'm pretty good. Thanks for asking.
  B :  No problem. So how have you been?
  A :  I've been great. What about you?
  B :  I've been good. I'm in school right now.
  A :  What school do you go to?
  B :  I go to PCC.
  A :  Do you like it there?
  B :  It's okay. It's a really big campus.
  A :  Good luck with school.
  B :  Thank you very much.


    A :  How are you doing today?
    B :   I'm doing great. What about you?
    A :  I'm absolutely lovely, thank you.
    B :   Everything's been good with you?
    A :  I haven't been better. How about yourself?
    B :   I started school recently.
    A :  Where are you going to school?
    B :   I'm going to PCC.
    A :  How do you like it so far?
    B :   I like it so far. My classes are pretty good right now.
    A :  I wish you luck.
    B :  Thanks a lot.


3. การให้คำปรึกษากับผู้เรียน (Giving Students Advises)

      การให้คำปรึกษากับผู้เรียนภาษาไทย

                 การให้คำปรึกษานี้มีลักษณะที่แตกต่างจากการให้บริการอื่นๆ ดังนี้ คือ                                   
                 1. มีทฤษฎีกระบวนการและเทคนิคการให้คำปรึกษาให้อาจารย์ได้เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับลักษณะของปัญหาและธรรมชาติของนักเรียน                                                                                              2. เน้นสัมพันธภาพที่ดีระหว่างอาจารย์ผู้ให้คำปรึกษาและนักเรียนผู้รับคำปรึกษา
                 3. เน้นปัจจุบันเพื่อให้นักเรียนอยู่ในโลกของความเป็นจริง และสามารถค้นหาแนวทางแก้ไขที่เป็นได้ในปัจจุบัน                                             4. ไม่มีคำตอบสำเร็จรูปตายตัว เพราะการให้คำปรึกษาเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ วิธีการแก้ปัญหาแต่ละกรณีจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสภาพปัญหา โดยนักเรียนจะเป็นผู้ตัดสินใจเลือกแนวด้วยตัวเอง                                  
                





บทที่5ภาษาประจำอาเซียน

สาธารณรัฐสิงคโปร์
Republic of Singapore (อังกฤษ)
新加坡共和国 (จีน)
Republik Singapura (มาเลย์)
சிங்கப்பூர் குடியரசு 
 ธงชาติประเทศสิงคโปร์


 
ตราแผ่นดิน


คำขวัญ: Majulah Singapura (มาเลย์)
"สิงคโปร์จงรุดหน้า"
เพลงชาติ: Majulah Singapura
"สิงคโปร์จงรุดหน้า"

เมืองหลวง
สิงคโปร์
(ดาวน์ทาวน์คอร์, เซนทรัล) [a]
1°17′N 103°50′E / 1.283°N 103.833°E
ภาษาราชการ
ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษามาเลย์ และภาษาทมิฬ
เดมะนิม
ชาวสิงคโปร์
การปกครอง
สาธารณรัฐ
 - 
ประธานาธิบดี
โทนี ตัน เค็ง ยัม
 - 
นายกรัฐมนตรี
ลี เซียนลุง
 - 
ประธานรัฐสภา
Halimah Yacob
 - 
ประธานศาลสูงสุด
Sundaresh Menon
นิติบัญญัติ
รัฐสภา
การก่อตั้ง
 - 
การก่อตั้ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2362[1] 
 - 
การปกครองตนเอง
3 มิถุนายน พ.ศ. 2502[2] 
 - 
เอกราชจากสหราชอาณาจักร
31 สิงหาคม พ.ศ. 2506[3] 
 - 
รวมกับมาเลเซีย
16 กันยายน พ.ศ. 2506[3] 
 - 
ถูกขับจากมาเลเซีย
9 สิงหาคม พ.ศ. 2508[3] 
พื้นที่
 - 
รวม
718.3 ตร.กม. (190)
277 ตร.ไมล์ 
 - 
แหล่งน้ำ (%)
1.4
ประชากร
 - 
2557 (สำมะโน)
5,469,700[4] 
 - 
ความหนาแน่น
7,615[5] คน/ตร.กม. (3)
19,725 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ)
2556 (ประมาณ)
 - 
รวม
Int$425,251 ล้าน[6] 
 - 
ต่อหัว
Int$78,762[6] 
จีดีพี (ราคาตลาด)
255
↑ ประเทศสิงคโปร์เป็นนครรัฐ
ประเทศสิงคโปร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่าสาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นนครรัฐสมัยใหม่และประเทศเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกปลายทิศใต้ของคาบสมุทรมลายูและอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 137 กิโลเมตร ดินแดนของประเทศประกอบด้วยเกาะหลักรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมักเรียกว่าเกาะสิงคโปร์ในภาษาอังกฤษ และเกาะอูจง (Pulau Ujong) ในภาษามลายู และเกาะที่เล็กกว่ามากอีกกว่า 60 เกาะ ประเทศสิงคโปร์แยกจากคาบสมุทรมลายูโดยช่องแคบยะฮอร์ทางทิศเหนือ และจากหมู่เกาะรีเยาของประเทศอินโดนีเซียโดยช่องแคบสิงคโปร์ทางทิศใต้ ประเทศมีลักษณะแบบเมืองอย่างสูง และคงเหลือพืชพรรณดั้งเดิมเล็กน้อย ดินแดนของประเทศขยายอย่างต่อเนื่องโดยการแปรสภาพที่ดิน
หมู่เกาะมีการตั้งถิ่นฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และต่อมาเป็นของจักรวรรดิท้องถิ่นต่าง ๆ สิงคโปร์สมัยใหม่ก่อตั้งใน ค.ศ. 1819 โดยเซอร์สแตมฟอร์ด รัฟเฟิลส์ (Stamford Raffles) เป็นสถานีการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกโดยการอนุญาตจากรัฐสุลต่านยะฮอร์ อังกฤษได้อธิปไตยเหนือเกาะใน ค.ศ. 1824 และสิงคโปร์กลายเป็นหนึ่งในนิคมช่องแคบอังกฤษใน ค.ศ. 1826 หลังถูกญี่ปุ่นยึดครองระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง สิงคโปร์ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1963 และเข้าร่วมกับอดีตดินแดนของอังกฤษอื่นเพื่อตั้งประเทศมาเลเซีย แต่ถูกขับอีกสองปีต่อมาผ่านพระราชบัญญัติโดยเอกฉันท์ นับแต่นั้น ประเทศสิงคโปร์พัฒนาอย่างรวดเร็ว จนได้รับการรับรองว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย
ประเทศสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางพาณิชย์สำคัญของโลกแห่งหนึ่ง โดยเป็นศูนย์กลางการเงินใหญ่สุดเป็นอันดับสี่และเป็นหนึ่งในห้าท่าที่วุ่นวายที่สุด เศรษฐกิจซึ่งเป็นโลกาภิวัฒน์และมีความหลากหลายอาศัยการค้าเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิต ซึ่งคิดเป็นประมาณ 30% ของจีดีพีของสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2556ในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ ประเทศสิงคโปร์มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับสามของโลกแต่มีความเหลื่มล้ำของรายได้รุนแรงที่สุดในหมู่ประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศสิงคโปร์ได้รับการจัดอันดับสูงในแง่การศึกษา สาธารณสุขและความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เมื่อปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 มีประชากรอาศัยอยู่ในประเทศสิงคโปร์เกือบ 5.5 ล้านคน ซึ่งกว่า 2 ล้านคนมีสัญชาติต่างชาติ แม้สิงคโปร์จะมีความหลากหลาย แต่เชื้อชาติเอเชียมีมากที่สุด 75% ของประชากรเป็นชาวจีน โดยมีชนกลุ่มน้อยที่สำคัญ เช่น ชาวมาเลย์ ชาวอินเดียและชาวยูเรเซีย มีภาษาราชการสี่ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู ภาษาจีนกลางและภาษาทมิฬ และประเทศสนับสนุนพหุวัฒนธรรมนิยมผ่านนโยบายทางการต่าง ๆ
ประเทศสิงคโปร์เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา รัฐเดี่ยว และใช้ระบบหลายพรรคการเมือง โดยมีการปกครองสภาเดี่ยวระบบเวสต์มินสเตอร์ พรรคกิจประชาชนชนะการเลือกตั้งทุกครั้งนับแต่เริ่มการปกครองตนเองในปีพ.ศ. 2502 ภาวะครอบงำของพรรคกิจประชาชน ประกอบกับระดับเสรีภาพสื่อต่ำและการปราบปรามเสรีภาพพลเมืองและสิทธิการเมืองนำให้ประเทศสิงคโปร์ถูกจัดเป็นประชาธิปไตยไม่สมบูรณ์ (flawed democracy) ประเทศสิงคโปร์เป็นหนึ่งในห้าสมาชิกผู้ก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ยังเป็นที่ตั้งของสำนักเลขาธิการความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) และสมาชิกการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและเครือจักรภพแห่งประชาชาติ การพัฒนาอย่างรวดเร็วของประเทศสิงคโปร์นำให้มันมีอิทธิพลอย่างสำคัญในกิจการโลก นำให้นักวิเคราะห์บางส่วนระบุว่าเป็นอำนาจปานกลาง (middle power)

บทที่4วัฒนธรรมและการสื่อสารต่างวัฒนธรรม

1.Morale คติธรรม : วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับหลักในการดำเนินชีวิต
2.Natick fair เนติธรรม :วัฒนธรรมทางกฎหมาย รวมทั้งระเบียบประเพณีที่ยอมรับนับถือกันว่ามีความสำคัญเช่นเดียวกับกฎหมาย
3.Cultural diversity:
The fact or quality of cultures of being diverse or different.
Cultural diversity should be considered as a source of enrichment rather a source of conflicts.
ความหลากหลายทางวัฒนธรรม:
ความจริงหรือคุณภาพของวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายของการเป็นหรือแตกต่างกันความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ควรได้รับการพิจารณาเป็นแหล่งที่มาของการเพิ่มปริมาณค่อนข้างแหล่งที่มาของความขัดแย้งได้
4.Cultural stereotypes:

A fixed idea that people have about what someone or something is like, especially an idea that is wrong.
Cultural stereotypes make our understanding of other cultures difficult.
แบบแผนทางวัฒนธรรม:
ความคิดคงที่ที่ผู้คนมีเกี่ยวกับสิ่งที่ใครบางคนหรือบางสิ่งบางอย่างที่เป็นเหมือนโดยเฉพาะอย่างยิ่งความคิดที่ว่าเป็นสิ่งที่ผิดแบบแผนทางวัฒนธรรมทำให้ความเข้าใจของเราวัฒนธรรมอื่น ๆ ที่ยากลำบาก
5 .Values: Beliefs of a person or social group in which they have an emotional investment (either for or against something). "He has very conservatives values"

ค่าหรือค่านิยม:ความเชื่อของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีการลงทุนทางอารมณ์ เช่น "เขามีค่าอนุรักษ์นิยมมาก"


6 .วัฒนธรรม หมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทาให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสาคัญ

7 .จารีต หมายถึง ประเพณีที่ถือสืบต่อกันมานาน.

8. ประเพณี หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่กาหนดพฤติกรรมในสถานการณ์ต่างๆที่คนในสังคมยึดถือปฏิบัติสืบกันมา

9 .ขนบธรรมเนียม หมายถึง แบบอย่างที่นิยมกันมา.

10. เทศกาล หมายถึง ช่วงเวลาที่กาหนดไว้เพื่อจัดงานบุญและงานรื่นเริงในท้องถิ่น

การเปลี่ยนแปลงกับเทคโนโลยี

ทุกวันนี้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันเกือบทุกด้าน  ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา   ด้านการเกษตร  ด้านการอุตสาหกรรม ด้านการคมนาคม และด้านอื่นๆอีกมาก   เทคโนโลยีนำความสะดวกสบายมาให้ในหลายๆด้านก็จริง แต่ก็นำพาความยุ่งยากมาให้เช่นเดียวกัน  เช่นอาชญากรคอมพิวเตอร์ ที่สามารถเข้ามาค้นข้อมูลส่วนตัวของเราได้แล้วนำไปใช้ในทางที่ผิด  เช่น  นำไปใช้ในการกู้ยืมเงิน หรือนำไปใช้ในการก่ออาชญากรรมต่างๆ
                  การเปลี่ยนแปลงกับเทคโนโลยี  จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีมีการพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ และจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในศตวรรษที่21ที่กำลังจะมาถึง ซึ่งอาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่มีเทคโนโลยีในทุกๆด้านของสังคม อาจจะ มีการใช้เทคโนโลยีแทนคนในการทำงาน   หรืออาจจะมีการใช้เทคโนโลยีทำอาหารแทนพ่อครัวแม่ครัวก็ได้  และถ้าหากเป็นเช่นนั้นก็อาจส่งผลต่อหน้าที่การงานของคน ทำให้เกิดอัตราการว่างงานมากขึ้น   และคนที่เกิดให้ยุคของเทคโนโลยีอาจจะทำอะไรด้วยตนเองไม่เป็นก็ได้  เพราะเทคโนโลยีได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์อย่างสมบูรณ์แล้ว

บทที่3การอ่านภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับวิชาชีพครู

    การอ่านภาษาอังกฤษ มี 2 ลักษณะ คือ การอ่านออกเสียง (Reading aloud) และ การอ่านในใจ (Silent Reading) การอ่านออกเสียงเป็นการอ่านเพื่อฝึกความถูกต้อง (Accuracy) และความคล่องแคล่ว  (Fluency) ในการออกเสียง ส่วนการอ่านในใจเป็นการอ่านเพื่อรับรู้และทำความเข้าใจในสิ่งที่อ่านซึ่งเป็นการอ่านอย่างมีจุดมุ่งหมาย เช่นเดียวกับการฟัง ต่างกันที่ การฟังใช้การรับรู้จากเสียงที่ได้ยิน ในขณะที่การอ่านจะใช้การรับรู้จากตัวอักษรที่ผ่านสายตา ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถเพิ่มพูนขึ้นได้ ในบทนี้จะกล่าวถึงการอ่านในใจเท่านั้น
           การอ่านในใจ  มีกิจกรรมในระยะต่าง ๆ คือ
                 1) กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading) 
                 2) กิจกรรมระหว่างการอ่าน ( While-Reading)  
                 3) กิจกรรมหลังการอ่าน(Post-Reading) แต่ละกิจกรรมมีกลวิธีการอ่านซึ่งในอธิบายในหัวข้อถัดไป 



ในกิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน  ( Pre-Reading)  มีกลวิธีดังนี้

 Category 1: Pre-reading Strategies
  reading the title of the text
  looking at the pictures/tables/figures in the text
  looking at the questions about the text
  thinking about the previous knowledge on the topic of the text
 questioning the reason the author is writing about the topic


Category 2: While-reading Strategies ในกิจกรรมระหว่าง การอ่านมีกลวิธีดังนี้
   reading through the passage
  figuring out the meanings of the words and phrases from the text
  skipping some unknown words
  reading without translating word-for word
  visualizing events
  taking notes
  assimilating text with the background information

 Category 3: Post-reading Strategies ในกิจกรรมหลังการอ่านมีกลวิธีดังนี้  
  making a summary of a whole reading text 
  retelling to others about what has been read
  evaluating the text
  discussing the reading text with classmates

ความหมายความสำคัญของภาษาและวัฒนธรรม

ภาษาในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง กริยาอาการที่แสดงออกมาแล้วสามารถทำความเข้าใจกันได้ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ ส่วนภาษาในความหมายอย่างแคบนั้น หมายถึง เสียงพูดที่มนุษย์ใช้สื่อสารกันเท่านั้นพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2542 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า ภาษา ไว้ว่า "ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษาราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม; เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยา; อาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ"วิชาที่ว่าด้วยการศึกษาภาษาในแง่ต่าง ๆ เรียกว่า "ภาษาศาสตร์" เริ่มบุกเบิกโดยแฟร์ดินอง เดอ โซซูร์ (Ferdinand de Saussure) บุคคลที่พูดภาษาใดก็ตาม ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเชิงภาษาศาสตร์ของภาษานั้น ๆ

ความสำคัญของภาษา
1. ภาษาในฐานะเป็นเครื่องมือสื่อสาร

การสื่อสารจะประสบผลสำเร็จได้จะต้องมีภาษาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ เนื้อหาของสาร
จะไม่สามารถถ่ายทอดได้ถ้าไม่มีภาษา จึงอาจกล่าวได้ว่าภาษาคือตัวนำสาร ภาษาที่ผู้ส่งสาร
และผู้รับสารใช้จะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับทักษะในการสื่อสาร ถ้าผู้ส่งสารเลือกใช้ภาษาในการเสนอ
สารที่เหมาะสมกับผู้รับสาร ในด้านความรู้และทักษะการใช้ภาษา จะทำให้เกิดการรับรู้และ
เข้าใจตรงกัน ภาษาในฐานะเป็นเครื่องมือสื่อสาร จะมี 2 ลักษณะ คือ
1.1 ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ

1) วัจนภาษา (verbal language) คือ ภาษาถ้อยคำ ได้แก่ คำพูดหรือตัวอักษร

ที่กำหนดใช้ร่วมกันในสังคม ซึ่งหมายรวมทั้งเสียงและลายลักษณ์อักษร ภาษาถ้อยคำเป็น
ภาษาที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างมีระบบ มีหลักเกณฑ์ทางภาษาหรือไวยากรณ์ซึ่งคนในสังคม
ต้องเรียนรู้และใช้ภาษาในการฟัง พูด อ่าน เขียนและคิด การใช้วัจนภาษาในการสื่อสาร
ต้องคำนึงถึงความชัดเจนถูกต้องตามหลักภาษาและความเหมาะสมกับลักษณะการสื่อสาร,
ลักษณะงาน, สื่อและผู้รับสาร เป้าหมาย
2) อวัจนภาษา (non - verbal language) คือ ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำ
เป็นภาษาซึ่งแฝงอยู่ในถ้อยคำ กิริยาอาการต่าง ๆ ตลอดจนสิ่งอื่นๆ  ที่เกี่ยวข้องกับการ
แปลความหมาย เช่น น้ำเสียง การตรงต่อเวลา การยิ้มแย้ม การสบตา การเลือกใช้
เสื้อผ้า ช่องว่างของสถานที่ กาลเวลา การสัมผัส ลักษณะตัวอักษร เครื่องหมาย
วรรคตอน เป็นต้น  สิ่งเหล่านี้แม้จะไม่ใช้ถ้อยคำ แต่ก็สามารถสื่อความหมายให้เข้าใจได้
ในการ  สื่อสารมักมีอวัจนภาษาเข้าไปแทรกอยู่เสมอ อาจตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้
3) ความสัมพันธ์ระหว่างวัจนภาษาและอวัจนภาษา
              อวัจนภาษาไม่สามารถแยกเด็ดขาดจากวัจนภาษา ผู้ส่งสารมักใช้วัจนภาษาและ

อวัจนภาษาประกอบ เช่น บอกว่า "มา" พร้อมทั้งกวักมือเรียก เป็นต้น  วัจนภาษาและ
อวัจภาษามีความสัมพันธ์กันดังนี้

     1. ใช้อวัจนภาษาแทนคำพูด หมายถึง การใช้อวัจนภาษาเพียงอย่างเดียว
ให้ความหมายเหมือนถ้อยคำภาษาได้ เช่น กวักมือ สั่นศีรษะ เป็นต้น

     2. ใช้อวัจนภาษาขยายความ เพื่อให้รับรู้สารเข้าใจยิ่งขึ้น เช่นพูดว่า "อยู่ในห้อง"
พร้อมทั้งชี้มือไปที่ห้อง ๆ หนึ่ง แสดงว่าไม่ได้อยู่ห้องอื่น
     3. ใช้อวัจนภาษาย้ำความให้หนักแน่น หมายถึง การใช้อวัจนภาษาประกอบ
 วัจนภาษาในความหมายเดียวกัน เพื่อย้ำความให้หนักแน่นชัดเจน ยิ่งขึ้น   เช่น พูดว่า
 เสื้อตัวนี้ใช่ไหม พร้อมทั้งหยิบเสื้อขึ้นประกอบ
      4. ใช้อวัจภาษาเน้นความ หมายถึง การใช้อวัจภาษาย้ำบางประเด็นของวัจนภาษา
 ทำให้ความหมายเด่นชัดขึ้น เช่น พาดหัวหนังสือพิมพ์ ใช้ตัวอักษรตัวโตพิเศษ  แสดงว่า
เป็นเรื่องสำคัญมาก
      5. ใช้อวัจนภาษาขัดแย้งกัน หมายถึง การใช้ภาษาที่ให้ความหมายตรงข้ามกับ
 วัจนภาษา ผู้รับสารมักจะเชื่อถือสารจากอวัจนภาษาว่าตรงกับความรู้สึกมากกว่า  เช่น
พูดว่า "โกรธไหมจ๊ะที่ผมมาช้า" ผู้รับสารตอบว่า "ไม่โกรธหรอกค่ะ" พร้อมกับมีสีหน้า
บึ้งตึง ผู้ส่งสารก็รู้ได้ทันทีว่ายังโกรธอยู่
      6. ใช้อวัจภาษาควบคุมปฏิสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสาร หมายถึง การใช้กิริยา
ท่าทาง สายตา น้ำเสียงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสาร เช่น การยิ้มแย้มแจ่มใส
การแสดงความดีใจที่ได้พบกัน
      อวัจนภาษามีผลในด้านการสร้างความรู้สึกได้มากกว่าวัจนภาษา  การใช้
อวัจนภาษาจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ผู้ส่งสารและผู้รับสารจะต้องระมัดระวัง
ถ้ารู้จักเลือกใช้อวัจภาษาเพื่อเสริมหรือเน้นหรือแทนวัจนภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผลมากขึ้นู่



ระดับภาษา



การใช้ภาษาสื่อสารต้องให้เหมาะสมกับโอกาส สถานการณ์ และสัมพันธภาพ
ระหว่างบุคคล ระดับภาษาเป็นตัวกำหนดความเหมาะสม ช่วยให้เกิดผลดีในการสื่อสาร
ระดับภาษาแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ

1) ระดับพิธีการ ภาษาระดับนี้ใช้สื่อสารกันในที่ประชุมที่จัดขึ้นอย่างเป็นพิธีการ
เช่น การเปิดประชุมรัฐสภา การกล่าวรายงานในพิธีมอบปริญญาบัตรผู้ส่งสารมุ่งแสดงออก
ให้เห็นถึงความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ ความทรงภูมิปัญญา ฯลฯไม่มุ่งประโยชน์ที่จะให้ผู้รับสาร
ได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น หากจะมีการกล่าวตอบก็ต้องกระทำ
อย่างเป็นพิธีการในฐานะผุ้แทนกลุ่มเท่านั้น

2) ระดับทางการ ภาษาระดับนี้มิได้มุ่งหมายที่จะให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม ในการสื่อสาร
โดยตรงเช่นกัน ผู้ส่งสารมุ่งเสนอข่าวสารแนวคิดและทรรศนะ ไปสู่กลุ่มรับสารขนาดใหญ่
เช่น  การแถลงข่าวอย่างเป็นทางการต่อสื่อมวลชน การให้โอวาทต่อคณะบุคคล การเขียน
บทบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์ การเขียนบทความทางวิชาการ

3) ระดับกึ่งทางการ ภาษาระดับนี้มักใช้ในการปรึกษาหารือกิจธุระระหว่างบุคคล
หรือกลุ่มบุคคล มีการเปิดโอกาสให้ผู้รับสารมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นร่วมกับผู้ส่งสาร
ภาษาระดับนี้จะใช้ในการประชุมกลุ่ม การปรึกษางาน การวางแผนร่วมกัน การเขียนบทความ
แสดงทรรศนะในหนังสือพิมพ์ การเสนอรายการสารคดีกึ่งวิชาการ

4) ระดับสนทนา อาจเรียกว่า ระดับลำลอง ภาษาระดับนี้มักใช้ในการสื่อสาร
กับเพื่อนสนิท อาจมีถ้อยคำที่เคยใช้กันเฉพาะกลุ่มหรือเข้าใจความหมายตรงกันในกลุ่มเท่านั้น

5) ระดับกันเอง ภาษาระดับนี้จะใช้ในวงจำกัด ใช้ระหว่างบุคคลที่สนิทสนมคุ้นเคย
กันมาก ๆ สถานที่ใช้มักเป็นที่ส่วนตัว เช่น ที่บ้านในห้องที่เป็นสัดส่วนของตน  โดยเฉพาะ
ถ้อยคำที่ใช้อาจมีคำแสลง คำที่ใช้เฉพาะกลุ่ม ภาษาระดับนี้ไม่นิยมบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร

อ้างอิง:http://human.tru.ac.th/elearning/thai_for_com/lesson1/content21.html


ทักษะการสอนและเทคนิคการสอน
 ทักษะ คือ การพูดของผู้สอนว่ามีเนื้อหาที่น่าสนใจและวิธีการพูดโน้มน้าวผู้เรียนต่างๆ และทักษะการเคลื่อนไหว ผู้สอนควรจะเคลื่อนไหว ผู้สอนอย่างไรให้เหมาะสมกริยาท่าทางต่างๆที่ผู้สอนเคลื่อนไหวในชั้นเรียนและตลอดเวลาการสอนและหมายถึงความคล่องแคล้ว ความชำนาญในการสอน
เทคนิค คือ กลวิธีและรูปเล่มที่ใช้เสริมกระบวนการสอน ขั้นตอนหรือกระบวนการต่างๆ
การสอน คือ การถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์


 เทคนิคการใช้วาจากิริยา ท่าทางประกอบการสอน

1.การเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนอิริยาบท
 เริ่มแรกที่เข้ามาในห้องเรียนครูควรเดินด้วยท่าทางที่เหมาะสมสง่างามและดูเป็นธรรมชาติ
2.การใช้มือแลแขน
ใช้มือประกอบท่าทางในการพุด ซึ่งจะเป็นสิ่งดึงดุดใจของนักเรียน เพราะนักเรียนสนใจดูสิ่งเคลื่อนไหวมากกว่าสิ่งที่นิ่ง
3.การแสดงออกทางสีหน้า สายตา
การแสดงออกทางหน้าตา สายตา เป็นส่วนหนึ่งที่ใช้สื่อความหมายกับผู้เรียน ผู้เรียนจะเข้าใจถึงความรู้สึก หรือเข้าใจในอารมณ์การสอน ในการสอนบทเรียนที่มีความตื่นเต้น สีหน้าของครูต้องคล้อยตามสัมพันธ์กับความรู้สึกดังกล่าวด้วย
4.การทรงตัวและการวางท่าทาง
ควรวางท่าให้เหมาะสม ไม่ดูตรึงเครียด หรือเกรงเกินไป  ควรวางท่าทางและทรงตัวขณะสอนให้ดูเป็นธรรมชาติแต่ก็ไม่ดูปล่อยตามสบายจนเกินไป
5.การใช้น้ำเสียง
ควรใช้น้ำเสียงที่ชัดเจนเหมาะสม ไม่ช้า ไม่เร็วจนเกินไป มีการออกเสียงการใช้ถ้อยคำถูกต้อง  ไม่แสดงอารมณ์ที่ไม่สมควรออกทางน้ำเสียงเพราะโดยปกติแล้วน้ำเสียงของครูสามารถบอกอารมณ์ได้และความรู้สึกของครูได้อย่างดี ถ้าครูเสียงดีนักเรียนก้จะมีความรู้สึกที่ดีต่อครู
6.การแต่งกาย
ครูควรแต่งกายให้ถุกต้องเหมาะสมเพราะถ้าครูแต่งกายสวยเดนจนเกินไปทำให้นกเรียนจะให้ความสนใจกับครูมากกว่าบทเรียน ผู้สอนควรแต่งกายให้เรียบร้อย

คุณลักษณะทั่วไป
๑ . มั่นใจในตนเอง เตรียมพร้อม ซ้อมดี มีสื่อและวิธีการ ที่เหมาะสม
๒ . เป็นคนช่างสังเกต คอยสังเกตพฤติกรรมทางกาย วาจา ตลอดจนกระบวนการกลุ่มของผู้เข้ารับการอบรม
๓ . มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
๔ . แก้ปัญหาเฉพาะหน้าเก่ง
๕ . มีการวางแผนที่ดี ทั้งเนื้อหาและลำดับขั้นตอนการนำเสนอรวมทั้งสื่อและเครื่องมือการสื่อสาร
๖ . มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีและประสานงานเก่ง
๗ . มีบุคลิกภาพที่ดี
๘ . มีความเป็นกัลยาณมิตร ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นกันเอง คอยช่วยเหลือด้วยน้ำใจ มีความเมตตา ยอมรับในความแตกต่างระหว่างบุคคลและมีความเห็นใจของผู้เข้ารับากรอบรม
๙ . เป็นนักประชาธิปไตย มีความยืดหยุ่น รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่สรุปตัดบทง่าย ๆ เมื่อมีผู้เสนอความคิดเห็นที่แตกต่างออกไป
๑๐ . มีความจิรงใจในการถ่ายทอดความรู้
๑๑ . ปฏิบัติตนต่อผู้เข้ารับการอบรมอย่างเสมอภาค ทัดเทียม วางตนเหมาะสมกับทุกคน
๑๒ . มีแบบฉบับลีลาที่เป็นของตนเองยอมรับจุดเด่นและจุดด้อยของตนและ มีความภูมิใจและเข้าใจ ในบุคลิกภาพของตนเอง และใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อ

อ้างอิง:http://sontad.blogspot.com/2015/08/blog-post_34.html?m=1